วิธีซ่อมแซมประตูไม้ด้วยตัวเองเบื้องต้น

วิธีซ่อมแซมประตูไม้ด้วยตัวเองเบื้องต้น

     เชื่อว่าประตูไม้เป็นประตูบ้านที่ยังคงได้รับความนิยม แต่อาจมีการพัฒนารูปแบบจากการใช้วัสดุไม้ทั้งหมด เป็นการนำไม้มาผสมกับวัสดุชนิดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงามและเข้ากับสไตล์การตกแต่งในปัจจุบันมากขึ้น สำหรับบ้านที่เลือกใช้ประตูไม้ อาจเป็นประตูไม้บานเลื่อน หรือประตูไม้บานคู่ ที่เคยมีปัญหาประตูบ้านฝืด หรือเปิดปิดยาก และไม่รู้ว่าควรแก้ไขอย่างไรดี วันนี้ คลังวัสดุไม้ มีวิธีซ่อมแซมประตูไม้ด้วยตัวเองเบื้องต้น มาแนะนำค่ะ

ประตูไม้จริง และประเภทของไม้

     ประตูไม้จริงมีหลายรูปแบบและทำจากไม้หลายชนิด ความแข็งแรงคงทนของประตูไม้นอกจากขึ้นอยู่กับรูปแบบของประตู ลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม และการนำไปผสมผสานหรือประยุกต์ใช้กับวัสดุชนิดอื่น ความแข็งแรงคงทน ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานของประตูไม้ยังขึ้นอยู่ประเภทของไม้แต่ละชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติรวมทั้งข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน เช่น

  • ประเภทไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รังหรือไม้เต็งรัง ไม้ตะแบก และ ไม้ตะเคียนทอง ซึ่งไม้เนื้อแข็งเหล่านี้ เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรงทนทาน มีลวดลายที่สวยงามแตกต่างกันไป และไม้เนื้อแข็งบางชนิดยังทนต่อปลวก มอด ความชื้น และเชื้อรา เหมาะสำหรับเป็นวัสดุสิ่งปลูกสร้างแตกต่างกัน บางชนิดนิยมใช้ทำประตูบ้านไม้ ประตูไม้บานเลื่อน สำหรับตกแต่งภายใน และใช้กับงานภายนอกที่ต้องถูกฝนถูกแดดเป็นประจำ มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่ไม้เนื้อแข็งบางชนิดมีข้อควรระวังคือมักจะเกิดการบิดตัว เมื่อไม้บิดตัวก็จะก่อให้เกิดความชื้น หรือความร้อนส่งผ่านไปได้ง่าย ทำให้ไม้เนื้อแข็ง เกิดการยืดหดตัว ขยายตัว เมื่อใช้ทำประตูบ้านอาจทำให้ประตูบ้านฝืดและเปิดปิดได้ยาก

  • ประเภทไม้เนื้อแข็งปานกลาง ไม้ประเภทนี้ได้แก่ ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้มะค่าแต้ ไม้พลวง ไม้นนทรีไม้ตะแบก ไม้ตาเสือ ไม้ตะเคียนทอง (ตามอายุไม้) คุณสมบัติหลักๆของไม้เนื้อแข็งปานกลาง คือ ทนทานต้อสภาพอากาศได้ดีเท่ากับไม้เนื้อแข็ง นิยมเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆรวมทั้ง ประตูเข้าบ้าน ประตูห้อง ประตูห้องครัว ประตูห้องน้ำ หรือประตูไม้บานเลื่อน อายุการใช้งานของไม้ประเภทนี้ประมาณ 6 ปี

  • ประเภทไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานน้อย จึงไม่นำนิยมนำมาใช้เป็นส่วนของโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนัก และไม่นิยมนำมาทำเป็นประตูบ้าน เนื่องจากไม่ค่อยทนทานไม้ประเภทนี้ก็ได้แก่ ไม้ยางแดง ไม้พะยอม ไม้พญาไม้ ไม้กระเจา

ปัญหาประตูบ้านไม้ และสาเหตุของปัญหา

            ปัญหาประตูบ้านไม้ที่พบได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะประตูบ้านไม้ที่ใช้งานมานาน ทั้งประตูไม้บานคู่ ประตูห้อง ประตูไม้บานเลื่อน และประตูไม้รูปแบบอื่น ๆ มักพบปัญหาประตูบ้านฝืด บานประตูไม้ตก เปิดปิดยาก หรือเปิดปิดไม่ได้ โดยสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ ได้แก่

  1. ประตูไม้มีความชื้น ทำให้ประตูไม้บวมหรือโก่งงอ เช่น ในช่วงฤดูฝนมักพบปัญหา ประตูบ้านฝืด เปิดปิดยาก
  1. บานประตูไม้ตก อาจเกิดได้จาก 2 กรณี คือ เกิดจจากโครงสร้างของบานประตูไม้เมื่อมุมของกรอบประตูหลวมจะทำให้ประตูไม่คงรูปเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นสาเหตุทำให้บานประตูตก และอีกหนึ่งกรณี คือเกิดจากความผิดพลาดในการติดตั้งบานพับของช่าง ที่อาจใช้การตอกตะปูควงแทนที่จะไข ทำให้ตะปูควงยึดกับไม้ไม่ดี เป็นสาเหตุทำให้บานประตูตกจนไม่สามารถปิดเปิดได้หรือทำให้ประตูบ้านฝืด

วิธีซ่อมแซมประตูไม้ด้วยตัวเองเบื้องต้น

  • การซ่อมประตูไม้บวมหรือโกง งอ จากความชื้น
  1. การใช้คัตเตอร์ขูดเนื้อไม้ หรือใช้กระดาษทรายเบอร์หยาบที่สุดขัดเนื้อไม้บริเวณที่บวม เพื่อแก้ปัญหาประตูบ้านฝืดหรือปิดเปิดยาก
  1. การซ่อมแซมโดยใช้กบไสไม้ปรับแต่ง หรือขัดเนื้อไม้ด้วยเครื่องเจียร์ เหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีเครื่องมือประเภทนี้อยู่แล้ว และการซ่อมด้วยวิธีนี้ต้องถอดประตูออกจากวงกบก่อนทำการซ่อม

  • การซ่อมบานประตูไม้ตก

การปิดบ้านไม่ได้ หรือประตูบ้านฝืดจากบานประตูไม้ตก ปัญหานี้เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากโครงสร้างของบ้านประตูชำรุดเสียหายจากอายุการใช้งาน และเกิดจากความผิดพลาดของช่างที่ใช้การตอกตะปูควงแทนการไข ทำให้ประตูไม่แน่นหนาและเกิดปัญหาประตูไม้ตกจนทำให้ประตูบ้านฝืดปิดเปิดยาก ก่อนทำการซ่อมต้องหาสาเหตุให้ได้ก่อนว่าประตูไม้ตกเกิดจากสาเหตุใด เพื่อแก้ไขให้ตรงปัญหา แต่การแก้ปัญหาประตูตกทั้งสองสาเหตุต้องถอดประตูออกจากวงกบก่อนทำการซ่อม

ประตูบ้านไม้มีหลายรูปแบบและทำจากไม้หลายประเภท การใช้งานก็จะแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของไม้แต่ละประเภท ประตูบ้านไม้สำหรับงานตกแต่งภายใน ประตูไม้บานเลื่อน หรือประตูภายนอกที่ต้องถูกละอองฝนหรือแสงแดด การเลือกประตูบ้านไม้จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ก็จะทำให้ประตูบ้านไม้คงทนและมีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *